เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การจัดประสบการเรียนการสอนปฐมวัย

ความหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 24) มีดังนี้คือ เป็นการจัดโดยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3 - 6 ปี ทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษเพื่อให้เด็กพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจ


                ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและเป็นความร่วมมือระหว่างบ้านสถานศึกษาและชุมชน ที่มุ่งจะพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย และมีความแตกต่างของแต่ละบุคคลทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ครอบคลุมประสบการณ์สำคัญที่เด็กได้รับ 9ประการ ได้แก่การสื่อสารความคิดที่เป็นการกระทำ การใช้ภาษา การเรียนรู้ทางสังคม การเคลื่อนไหว ดนตรี การจำแนก เปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพันธ์ และเวลา
                สิ่งสำคัญในการจัดประสบการณ์ คือ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง จัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความต้องการความแตกต่างระหว่างบุคคลในบรรยากาศที่อบอุ่นต่อการเรียนรู้โดยใช้บูรณาการ ผ่านการเล่นอย่างหลากหลายเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็กมีโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
                เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 14) กล่าวว่าการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่ง bloom กล่าวว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของสติปัญญามนุษย์จะเริ่มพัฒนาขึ้นในช่วง 4 ปีแรกของชีวิตอีก 30 เปอร์เซ็นต์จะพัฒนาขึ้นในช่วงต่อไป
                กุลยา ตันติผลาชีวะ (2542 17) กล่าวว่าการจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีอายุแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี การศึกษาอนุบาลเป็นการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย ความคิด สติปัญญา สังคมและอารมณ์



แหล่งที่มา

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น